Lavandula ( Lavender ) History
ประวัติศาสตร์และทีมาของต้นลาเวนเดอร์

"ลาเวนเดอร์" ต้นไม้จากโลกเก่า

เนื่องจากในเมืองไทยไม่มีเอกสารอ้างอิงใดๆ ผู้เขียนเลยใช้วิธีค้นคว้าเอาตามเน็ตที่พอจะเป็นแหล่งอ้างได้ ซึ่งยากพอสมควร เพราะมักจะไม่มีการกล่าวถึงประวัติโดยเฉพาะเจาะจงเหมือนต้นไม้ชนิดอื่นๆ แต่จะไปแทรกอยู่ตามประวัติศาสตร์อารยะธรรมต่างๆในยุคทองของโรมัน อิยิปต์, เปอร์เซีย ตามเส้นทางสายไหม แบบตรงนี้นิดตรงนั้นหน่อย อย่างไรก็ตามหากมีความผิดพลาดในการรวบรวม ก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ เพราะผู้เขียนก็ไม่ใช่นักประวัติศาสตร์

ชื่อทางวิทยาศาสตร์ของลาเวนเดอร์คือ “Lavandula” หรือชื่อสามัญว่า “Lavender” เป็นไม้พุ่ม-ไม้ดอกยืนต้น (ไม่ใช่ไม้ล้มลุก) อยู่ในวงศ์เดียวกับ สะระเหน่ (Lamiaceae) ปัจจุบันแบ่งย่อยลงไปได้ 3 กลุ่มหลัก(ตาม Species) และ 6 สายพันธุ์หลัก(ตามลักษณะ) มีสายพันธุ์ย่อยลงไปอีกเกือบ 60 สายพันธุ์ ตามประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนค้นหาได้นั้น มีต้นกำเนิดจากดินแดนแทบเมดิเตอร์เรเนี่ยนอยู่ในโซนอากาศแบบ Warm Climate Zone) ตั้งแต่ประมาณ 3,900 ปีก่อนพบได้ตั้งแต่รอบๆทะเลเมดิเตอร์เรเนี่ยนตั้งแต่ หมู่เกาะคานารี่, ยุโรปใต้ (โปรตุเกส, สเปน, อิตาลี่, กรีซ, ตุรกี, เกาะไซปรัส), ตอนบนของแอฟริกาเหนือ ( โมรอคโค, ตูนิเซีย, ลิเบีย, อียิปต์ ), ตะวันออกลาง – อินเดีย

ชาวกรีกเรียก Lavender ว่า nardus

ชาวกรีกโบราณเรียกลาเวนเดอร์ว่า nardus ตามชื่อเมืองนาร์ดาของซีเรียและโดยทั่วไปเรียกว่า “นาร์ด” ลาเวนเดอร์เป็นหนึ่งในสมุนไพรศักดิ์สิทธิ์ที่ใช้ในการเตรียม Holy Essence และ Nard หรือ "spikenard" ถูกกล่าวถึงในพระคัมภีร์ในเพลง 'Song of Solomon' ในที่อื่น ๆ ส่วนชื่อ “Lavender” มีชื่อมาจากภาษาละตินว่า"lavare"แปลว่า"ล้าง"ชาวโรมันใช้ลาเวนเดอร์เพื่อให้กลิ่นหอมในห้องอาบน้ำ-โรงอาบน้ำ เตียงนอนเสื้อผ้าและแม้กระทั่งทำยาสระผม ฝั่งบาบิโลเนี่ยนใช้ตากแห้งเป็นเครื่องหอมน้ำอบในพิธีกรรมต่างๆราวๆต้นคริสตกาล แต่บันทึกเก่าแก่ที่สุดอยู่ในอียิปต์โดยเป็นภาพอักษรเฮโรกริฟฟิกก่อนสมัยโมเสสเสียอีกคือราวๆ 3900 ปี (หรือ 1290 ปีก่อนคริสตกาล) โดยชาวอียิปต์จะใช้ต้น "ไธม์" "ลาเวนเดอร์" สะระแหน่ซีดาร์" "กุหลาบ" "น้ำมันอัลมอนด์" และ "ว่านหางจระเข้" มาผสมเป็นน้ำมันหอมระเหย ในกระบวนการทำมัมมี่ของอียิปต์

ยุโรปนำเข้าไปพัฒนาพันธุ์ในอังกฤษเพื่อรักษาอาการไมเกรดของควินอลิซเบธที่ 1

ต่อมาในยุคกลาง ศตว.ที่ 15-16 ควีนอลิซเบธที่ 1 นำลาเวนเดอร์มาทำชาและดมกลิ่นดอก-ใบเพื่อรักษาอาการไมเกรนของพระองค์ จึงมีการพัฒนาพันธุ์ดั่งเดิมจากไม้กึ่ง ทะเลทรายตามโอเอซิสให้สามารถเลี้ยงข้ามฤดูหนาวของยุโรปได้จนกลายมาเป็นสายพันธุ์ Lavandula Angustifolia หรือที่รู้จักกันในชื่อ English Lavender ปัจจุบัน ซึ่งมีสายพันธุ์ย่อยๆ(Sub-Species) พัฒนาต่อๆกันมาอีกหลายสายพันธุ์โดยคงลักษณะกลิ่นใบกลิ่นดอกดั่งเดิมเอาไว้ จนเริ่มแพร่หลายในยุโรปหลังจากนั้น ซึ่งที่สุดก็ถูกจัดเป็นไม้ สมุนไพรใช้รักษาอาการอักเสบในยามสงครามต่างๆ รวมถึงลดความเครียดและช่วยในการนอนหลับของผู้ป่วย

จากพืชสมุนไพรสู่อุตสาหกรรมน้ำหอม

ด้วยความหอมอันไม่เหมือนใครของลาเวนเวนเดอร์ในที่สุดฝรั่งเศสก็นำพันธุ์ English Lavender เข้าไปเพาะพันธุ์เป็นพืชเศรษฐกิจในพื้นที่โพรวองซ์ในปี 1900 จนปัจจุบันนี้ มีพื้นที่เพาะเลี้ยงลาเวนเดอร์ในเขตโพรวองซ์ถึง 5 แสนไร่เพราะเป็นพื้นที่มีอากาศเหมาะสมสูงจากระดับน้ำทะเล 600 เมตรมีฝนตกไม่มากแสงแดดคงที่ในฤดูร้อนซึ่งเหมาะกับการเลี้ยงแบบ เปิดระดับอุตสาหกรรม

ไม้กึ่งทะเลทราย ไม่ชอบฝนหนัก

เรื่องนึงที่ทั้งคนไทยและฝรั่งที่พึ่งเริ่มเลี้ยงลาเวนเดอร์ เข้าใจว่าลาเวนเดอร์เป็นไม้เมืองหนาวแต่จริงๆไม่ใช่ ถ้าดูจากประวัติศาสตร์แล้ววิเคราะห์สภาพภูมิประเทศในถิ่นกำเนิดของเขาแล้ว บริเวณแถบนั้นแทบไม่มีฝนตกเป็นเขตอากาศแห้ง ทั้งแบบแบบร้อน-แห้ง สลับเย็น-แห้ง และดินบริเวณเขตนั้นเป็นดินที่มีสารอินทรีย์ต่ำแต่มีแร่ธาตุจากแนวเขตภูเขาไฟสะสมอยู่จำนวนมาก ดังนั้นเพราะการเกิดในภูมิประเทศแบบนี้ทำให้ต้นลาเวนเดอร์ไม่ชอบดินแฉะ ไม่ชอบสารอินทรีย์สูงแบบดินป่าฝนหรือเขตร้อนลุ่มแม่น้ำ

ลักษณะทางกายภาพ Lavender ในโลกเก่านั้นเป็นวัชพีืชที่ขึ้นตามแนวขอบทะเลทรายที่มีโอเอซิส หรือใกล้แหล่งน้ำ ชอบอากาศแห้งฝนไม่ตกชุก หรือบริเวณที่มีความชื้นจากน้ำใต้ดิน หรือแหล่งน้ำอื่นๆ ที่ไม่ใช่น้ำฝน

ทำไมเราต้องรู้ประวัติของลาเวนเดอร์

สำหรับคนที่สนใจจะเลี้ยงต้นไม้ชนิดนี้ การศึกษาประวัติของเขาก็เท่ากับเราได้เรียนรู้ความเป็นอยู่ของเขาในบ้านเกิด ดินแบบไหน อากาศ น้ำ ร้อน ชื้นแบบไหน ซึ่งจากที่ผู้เขียนเป็น Admin ของกลุ่ม Lavender Garden มาราวๆ 2 ปีก็พบว่าคนเลี้ยงส่วนใหญ่ไม่เข้าใจต้นไม้ชนิดนี้เลย และคิดว่ามันก็เหมือนกับต้นไม้โซนร้อน หรือเป็นไม้เมืองหนาว ซึ่งทั้ง 2 อย่างนี้ "ผิด!!!" หากจะเลี้ยงลาเวนเดอร์ต้องตัดความคิดวิธีดูแลต้นไม้ชนิดอื่นๆออกจากความคิดไปเลยครับ

Latest update: 1st February 2023
©2020, Lavandulalover.com
2007-2024 lavandulalover